วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบหมู่เลือด ABO

  เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion)  เป็นระบบที่พบก่อน
            ระบบอื่นๆโดย Landsteiner .. 2443 จากการทดลอง Landsteiner สรุปได้ว่ามี
           หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A และแอนติเจน B ดังนี้
หมู่เลือด
Bl.gr.
แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง
Antigen
แอนติบอดีย์ในซีรั่ม
Antibody
การกระจายในคนไทย
Population
A
A
Anti-B
22 %
B
B
Anti-A
33 %
AB
และ B
-
8 %
O
H
Anti-A และ anti-B
37 %
                คนที่มีหมู่เลือด เอ จะมีแอนติเจน A อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ B อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
      คนที่มีหมู่เลือด บี จะมีแอนติเจน B อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ A อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
      ดังนั้นซีรั่มของคนหมู่เลือด เอ จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด บี เกิดการจับกลุ่ม
             กลับกันซีรั่มของคนหมู่เลือด บี จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด เอ เกิดการจับกลุ่ม
  คนหมู่เลือด เอบี มีแอนติเจนทั้ง A และ B อยู่บนเม็ดเลือดแดง ส่วนในซีรั่มจะไม่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจน A  และทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน B
 คนหมู่เลือด โอ บนเม็ดเลือดแดงไม่มีทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B แต่ในซีรั่มจะมีทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน A และแอนติเจน B

          Sub group ที่สำคัญทางการแพทย์คือ sub group A (หมู่เลือดย่อยโดยส่วนใหญ่ของคนหมู่เลือด เอจะเป็น subgroup A1 รองลงมาเป็น  subgroup A2   ส่วน subgroup A3, A4, Am, Ax พบได้น้อยมากๆ  บนผิวเม็ดเลือดแดงของ subgroup A1 จะมีแอนติเจนทั้ง A1 และ A2 เมื่อทำปฏิกิริยา  กับ Anti-A sera จะเกิดการจับกลุ่มได้ดี  ส่วนเม็ดเลือดแดงของ subgroup A2 บนผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจน A2เพียงอย่างเดียว เมื่อทำปฏิกิริยากับ  Anti-Asera จะจับกลุ่มได้ไม่ดีนัก (ขนาดตะกอนกลุ่มเล็กกว่าแบบ A1)
          H   Antigen    เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเม็ดเลือดแดงทุกหมู่ แต่จะมีปริมาณมากที่สุดบนผิวเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ  โดยแอนติเจน H เป็นสาต้นกำเนิดของทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B  โดยที่ A gene และ B gene มีหน้าที่กำหนดให้มี enzyme A transferase และ B transferase  ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับแอนติเจน H  ให้เปลี่ยนไปเป็นแอนติเจนและ แอนติเจน B
บนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ A ซึ่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H  ส่วนบนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ B  จะมีแอนติเจนและแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว
             ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h โดยที่  HH และHh genotype จะกำหนดให้มีแอนติเจน H บนผิวของเม็ดเลือดแดง ส่วน hh genotype จะกำหนดให้ไม่มีแอนติเจน H บนผิวเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่มีทั้งแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ไปด้วย แม้ว่าจะมี ABO genotype เป็นAA, AO, BB, BO, AB ก็ตาม ดังนั้นเมื่อนำเม็ดเลือดแดงของคนที่มีลักษณะ hh genotype มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีต่อ A ( anti-A sera) หรือกับแอนติบอดีต่อ B (anti-B sera) จะไม่เกิดตะกอนการจับกลุ่มขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆนั้นเป็นหมู่เลือด O ลักษณะดังกล่าวจัดเรียกว่า  เป็นหมู่เลือดชนิด Bombay หรือ( group O Bombay / Bombay phenotype)
          แอนติเจน แอนติเจน และแอนติเจน นอกจากจะปรากฏอยู่บนเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังมีอยู่บน epithelial cell , endothelial cell และละลายอยู่ในซีรั่ม น้ำลาย น้ำย่อยในกระเพาะ น้ำย่อยจากตับอ่อน และเหงื่อ
         คนส่วนมากจะมีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่งต่างๆ เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า    Secretor
         คนส่วนน้อยไม่มีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่เรียกว่าเป็น non-secretor Allele ที่ควบคุมการเป็นsecretor หรือ non-secretor     คือยีน Se gene และ se gene โดยที่ Se/Se และ Se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น Secretor se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น non-secretor
                        แอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่ง กับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งจะตรงกันเช่น  secretor ที่มีหมู่เลือด เอ ในซีรั่มและน้ำคัดหลั่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H อยู่ จะไม่มีแอนติเจน B

การเดินทางของอากาศในระบบหายใจ

ทางเดินของอากาศในระบบหายใจของคน
อากาศจากการหายใจจะเดินทางเข้าด้วยการหายใจเข้าโดยผ่านจมูกในส่วนของรูจมูก (nostril) แล้วเคลื่อนที่ไปที่ช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านคอหอย (pharynx) เข้าสู่หลอดลม (trachea) เดินทางต่อไปที่ส่วนของขั้วปอด (bronchus) ต่อไปที่ bronchiole alveolar duct air sac และถุงลม (alveolus) เป็นที่สุดท้าย เมื่อเดินทางถึงถุงลม (alveolus) จะเกิดกระบวนแลกเปลี่ยนแก๊ส (gas exchange) จนเสร็จสิ้นแล้วอากาศจะเดินทางออกด้วยการหายใจออกย้อนกลับมาตามทางเดิน

การหายใจในระบบหายใจ
การหายใจในระบบหายใจแบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการหายใจที่เกิดขึ้นที่อวัยวะที่ใช้ในการหายใจ (external respiration)
2. กระบวนการหายใจที่เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย (internal respiration) หรือเรียกว่า cellular respiration ซึ่งนับว่าเป็นการหายใจที่แท้จริง เพราะการหายใจภายในเซลล์เป็นการสลายสารอาหารให้เกิดพลังงานขึ้นมาซึ่งพอจะสรุปให้เห็นได้ชัดเจน คือเมื่อเซลล์ได้รับสารอาหารและออกซิเจนทั้งสองสิ่งนี้จะทำปฏิกิริยากัน ปฏิกิริยานี้จะมีความซับซ้อนมากแต่พอสรุปให้เห็นได้ดังนี้


อวัยวะในระบบหายใจของคน




ปอด 
ปอด (lung) เป็นอวัยวะสำคัญของระบบหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ปอดหายใจ ปอดประกอบด้วยถุงลม (alveolus) จำนวนมาก ปอดแยกออกเป็นก้อน (lobe) แต่ปอดของสัตว์บางชนิดก็ไม่แบ่งเป็นก้อนๆ เช่น วาฬ สัตว์กีบคี่ ปอดของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วนหรือสองข้าง โดยปอดข้างขวาจะมีจำนวนก้อนมากกว่าปอดข้างซ้าย ปอดข้างขวามีจำนวนก้อน 3 ก้อน ปอดข้างซ้ายมีจำนวนก้อน 2 ก้อน สัตว์บางชนิด เช่น ตุ่นปากเป็ด ปอดข้างขวาเพียงข้างเดียวที่จะมีก้อนของถุงลมเป็นก้อนๆ
ปอดของมนุษย์จะมีความจุหรือบรรจุอากาศได้ประมาณ 4-5 ลิตร อยู่ในช่องอก โดยช่องอกจะถูกแบ่งออกจากช่องท้องด้วยส่วนของกระบังลม (diaphragm) อยู่ในตำแหน่งซ้ายขวาของหัวใจ อยู่ในช่องว่างของตัวเองที่เรียกว่า ช่องปอด (pleural cavity)
ปอดอยู่ภายในส่วนที่ซี่โครงล้อมรอบไว้และจะติดอยู่กับโคนของขั้วปอด (bronchus) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของหลอดลมที่แยกออกเป็น 2 หลอดด้านซ้ายและด้านขวา ขั้วปอดจะเหมือนกับหลอดลมทุกประการ แต่จากการแยกเป็นสองหลอดจึงทำให้มีขนาดเล็กลง มีความแข็งแรงน้อยกว่าหลอดลม ขั้วปอดของสัตว์บางอย่าง เช่น วัว ควาย หมู วาฬ จะมีขั้วปอด 3 ขั้ว งูมีขั้วปอด เพียงอันเดียว จากขั้วปอดจะแตกออกไปเป็นหลอดเล็กกระจายไป เรียกว่า bronchiole ไปเชื่อมต่อกับถุงลม นำอากาศเข้าและออกจากถุงลม
ถุงลม (alveolus) 
ถุงลมเป็นส่วนที่ต่อมาจาก alveolar duct ที่ต่อมาจาก bronchiole alveolar duct ส่วนปลายจะพองออกเป็นกระเปาะเล็กเรียกว่า air sac ซึ่ง air sac จะประกอบด้วยถุงเล็กๆ จำนวนมาก เรียกว่า ถุงลม (alveolus) จะเป็นถุงที่มีผนังบางๆ และมี endothelium ซึ่งมีลักษณะบางแต่เหนียวมากเป็นส่วนบุอยู่ด้านใน ส่วนทางด้านนอกของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก ถุงลมมีอยู่ประมาณ 700 ล้านถุง ซึ่งถ้านำมาแผ่ออกเป็นแผ่นอาจได้พื้นที่ถึง 90 ตารางเมตร
หลอดลม
หลอดลม (trachea) เป็นท่อทางเดินของอากาศจากจมูกเข้าสู่รูจมูก (nostril) แล้วผ่านไปยังช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านไปที่คอหอย (pharynx) แล้วเข้าสู่หลอดลม จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้วปอด (bronchus) เข้าสู่ bronchiole เข้าสู่ alveolar duct เข้าสู่ air sac และเข้าสู่ถุงลม (alveolus) เป็นจุดสุดท้าย
หลอดลมในส่วนต้นจะเป็นส่วนของกล่องเสียง (larynx) กล่องเสียงนี้จะประกอบด้วยกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อน 3 ชนิดคือ arytenoid cartilage, thyroid cartilage (ลูกกระเดือก), cricoid cartilage ภายในของกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อ (vocal cord) 2 คู่ ขึงอยู่ แผ่นเยื่อ vocal cord จะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงได้ตามต้องการจะเปล่ง เสียง
หลอดลมจะมีกระดูกอ่อนบางๆ มาเป็นฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากอากาศลงไปเรียกว่า epiglottis
หลอดลมส่วนที่ถัดจากกล่องเสียงลงไปอีกจะเป็นหลอดยาวไปเชื่อมกับปอด หลอดลมจะถ่างเป็นช่องว่างอยู่ตลอดเวลานอกจาก นี้วงกระดูกอ่อนเป็นโครงอยู่ภายใน (tracheal ring) วงกระดูกด้านหลังของหลอดลมที่แนบอยู่กับหลอดอาหารจะขาดออกจากกันเป็นรูปวงกลมเส้นรอบวงขาด แต่จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาจับปลายทั้งสองไว้ หลอดลมมีความยาวประมาณ 4.5 นิ้ว


ระบบหายใจ

ระบบหายใจหรือระบบของการหายใจ (respiratory system) สิ่งที่ควรเข้าใจในลำดับแรกคือ การหายใจ (respiration)
การหายใจเป็นกระบวนการในการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะได้พลังงานจำนวนหนึ่งมาใช้ในการดำรงชีวิต
กระบวนการหายใจต้องใช้เอนไซม์ (enzyme) และแก๊สออกซิเจน ดังนั้น กระบวนการหายใจต้องเกี่ยวข้องกับแก๊สออกซิเจนที่มีกระบวนการในการรับเข้ามาภายในร่างกาย


อวัยวะสำหรับใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ควรรู้จัก
1. สัตว์เซลล์เดียวใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการหายใจ
2. ตัวอ่อนของแมลงปอช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำใช้เหงือกในการหายใจ
3. ช่วงระยะตัวไม่เต็มวัยของกบที่อยู่ในน้ำจะใช้เหงือก ในการหายใจ
4. หอยโข่งใช้ปอดในการหายใจ
5. แมลงใช้ท่อหรือหลอดลมกระจายทั่วร่างกายเป็นอวัยวะหายใจ
6. หนูใช้ปอดในการหายใจ
7. ปลาใช้เหงือกในการหายใจ
8. ซาลามานเดอร์ (salamander) ใช้เหงือกในการหายใจ
9. นกใช้ปอดในการหายใจ
10. ค้างคาวใช้ปอดในการหายใจ
11. สุนัขใช้ปอดในการหายใจ
12. งูใช้ปอดในการหายใจ
อวัยวะสำหรับการหายใจ (respiratory organ) ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่าสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกจะใช้หลอดลม (trachea) ใช้ปอด (lung) พวกที่ใช้หลอดลมจะเป็นพวกแมลงต่างๆ เป็นส่วนมาก พวกที่ใช้ปอดจะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม