เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion) เป็นระบบที่พบก่อน
ระบบอื่นๆโดย Landsteiner พ.ศ. 2443 จากการทดลอง Landsteiner สรุปได้ว่ามี
หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A และแอนติเจน B ดังนี้
หมู่เลือด Bl.gr. | แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง Antigen | แอนติบอดีย์ในซีรั่ม Antibody | การกระจายในคนไทย Population |
A | A | Anti-B | 22 % |
B | B | Anti-A | 33 % |
AB | A และ B | - | 8 % |
O | H | Anti-A และ anti-B | 37 % |
คนที่มีหมู่เลือด เอ จะมีแอนติเจน A อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ B อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
คนที่มีหมู่เลือด บี จะมีแอนติเจน B อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีต่อ A อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
ดังนั้นซีรั่มของคนหมู่เลือด เอ จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด บี เกิดการจับกลุ่ม
กลับกันซีรั่มของคนหมู่เลือด บี จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด เอ เกิดการจับกลุ่ม
คนหมู่เลือด เอบี มีแอนติเจนทั้ง A และ B อยู่บนเม็ดเลือดแดง ส่วนในซีรั่มจะไม่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจน A และทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน B
คนหมู่เลือด โอ บนเม็ดเลือดแดงไม่มีทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B แต่ในซีรั่มจะมีทั้งแอนติบอดีต่อแอนติเจน A และแอนติเจน B
Sub group ที่สำคัญทางการแพทย์คือ sub group A (หมู่เลือดย่อย) โดยส่วนใหญ่ของคนหมู่เลือด เอจะเป็น subgroup A1 รองลงมาเป็น subgroup A2 ส่วน subgroup A3, A4, Am, Ax พบได้น้อยมากๆ บนผิวเม็ดเลือดแดงของ subgroup A1 จะมีแอนติเจนทั้ง A1 และ A2 เมื่อทำปฏิกิริยา กับ Anti-A sera จะเกิดการจับกลุ่มได้ดี ส่วนเม็ดเลือดแดงของ subgroup A2 บนผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจน A2เพียงอย่างเดียว เมื่อทำปฏิกิริยากับ Anti-Asera จะจับกลุ่มได้ไม่ดีนัก (ขนาดตะกอนกลุ่มเล็กกว่าแบบ A1)
H Antigen เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเม็ดเลือดแดงทุกหมู่ แต่จะมีปริมาณมากที่สุดบนผิวเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ โดยแอนติเจน H เป็นสารต้นกำเนิดของทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B โดยที่ A gene และ B gene มีหน้าที่กำหนดให้มี enzyme A transferase และ B transferase ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับแอนติเจน H ให้เปลี่ยนไปเป็นแอนติเจนA และ แอนติเจน B
บนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ A ซึ่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H ส่วนบนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ B จะมีแอนติเจนB และแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H บนเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว
ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h โดยที่ HH และHh genotype จะกำหนดให้มีแอนติเจน H บนผิวของเม็ดเลือดแดง ส่วน hh genotype จะกำหนดให้ไม่มีแอนติเจน H บนผิวเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่มีทั้งแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ไปด้วย แม้ว่าจะมี ABO genotype เป็นAA, AO, BB, BO, AB ก็ตาม ดังนั้นเมื่อนำเม็ดเลือดแดงของคนที่มีลักษณะ hh genotype มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีต่อ A ( anti-A sera) หรือกับแอนติบอดีต่อ B (anti-B sera) จะไม่เกิดตะกอนการจับกลุ่มขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆนั้นเป็นหมู่เลือด O ลักษณะดังกล่าวจัดเรียกว่า เป็นหมู่เลือดชนิด Bombay หรือ( group O Bombay / Bombay phenotype)
แอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H นอกจากจะปรากฏอยู่บนเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังมีอยู่บน epithelial cell , endothelial cell และละลายอยู่ในซีรั่ม น้ำลาย น้ำย่อยในกระเพาะ น้ำย่อยจากตับอ่อน และเหงื่อ
คนส่วนมากจะมีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่งต่างๆ เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า Secretor
คนส่วนน้อยไม่มีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่เรียกว่าเป็น non-secretor Allele ที่ควบคุมการเป็นsecretor หรือ non-secretor คือยีน Se gene และ se gene โดยที่ Se/Se และ Se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น Secretor se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น non-secretor
แอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่ง กับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งจะตรงกันเช่น secretor ที่มีหมู่เลือด เอ ในซีรั่มและน้ำคัดหลั่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H อยู่ จะไม่มีแอนติเจน B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น